ในประเทศไทยมีการสำรวจพบปลาผู้ล่าในสกุลปลาช่อน (Channa) ทั้งหมด 8 ชนิด
4 ชนิดแรก
4 ชนิดแรก
1. ปลาช่อนข้าหลวง(Channa marulioides)
ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 ซ.ม. ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น
2. ปลาช่อนงูเห่า(Channa aurolineatus)
มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 ซ.ม. พบได้บางพื้นที่ ยกเว้นภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนล่าง
3. ปลาก๊วนหรือปลาช่อนงูเห่าแม่น้ำโขง(channa Sp.)
เป็นปลาช่อนชนิดล่าสุดของไทยที่ถูกจำแนกชนิดใหม่ มีขนาดโตเต็มที่ราว 60 ซ.ม. มีรายงานพบทางแม่น้ำโขงและสาขาของแม่น้ำโขงในประเทศลาว
4. ปลาช่อนดำ(Channa melasoma)
ขนาดโตเต็มราว 30 ซ.ม. พบได้เฉพาะป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส และแม่น้ำโกลก ภาคใต้
5. ปลาชะโด (Channa micropeltes)
พี่ใหญ่สุดของปลาในสกุลนี้ ที่เรารู้จักกันดีครับ พบได้ทั่วทุกภาค
6. ปลากระสง (Channa lucius)
มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร พบได้ทุกภาค แต่พบการกระจายพันธุ์น้อยสุดในสี่ชนิดหลังนี้
7. ปลาช่อน (Channa striata )
ถือเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดีที่สุดและยกให้เป็นปลาครูของนักตกปลา พบได้ทั่วทุกภาคครับ
8. ปลาก้าง (Channa limbata)
น้องเล็กสุดของปลาในสกุลนี้ครับ พบได้ทุกภาค สุดต้นน้ำบนยอดเขาจะพบปลาก้างเพียงชนิดเดียวในสกุลนี้
พี่ใหญ่สุดของปลาในสกุลนี้ ที่เรารู้จักกันดีครับ พบได้ทั่วทุกภาค
6. ปลากระสง (Channa lucius)
มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร พบได้ทุกภาค แต่พบการกระจายพันธุ์น้อยสุดในสี่ชนิดหลังนี้
7. ปลาช่อน (Channa striata )
ถือเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดีที่สุดและยกให้เป็นปลาครูของนักตกปลา พบได้ทั่วทุกภาคครับ
8. ปลาก้าง (Channa limbata)
น้องเล็กสุดของปลาในสกุลนี้ครับ พบได้ทุกภาค สุดต้นน้ำบนยอดเขาจะพบปลาก้างเพียงชนิดเดียวในสกุลนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น