สนใจชวนไปตกปลา...ในเขตมหาสารคามและยโสธร

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มารู้จักปลาชะโดกันก่อนนะครับ

มารู้จักปลาชะโดกันก่อนนะครับ



ปลาชะโด (อังกฤษ: Great Snakehead, Giant Snakehead) เป็นชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร หนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสี ของเปลือกหอยแมลงภู่แทน
โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ชะโด" หรือ "อ้ายป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "แมลงภู่" ตามสีของลำตัว
นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง"
เป็นปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย, อินเดีย, อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย
ชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์, เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี มักจะบริโภคด้วยการทำเป็นปลาเค็มและตากแห้งมากกว่าปรุงสด เพราะเนื้อแข็งและมีก้างเยอะ[1]
นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลา พบมีขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ และมีราคาถูก

 วิธีตกปลาชะโด



เทคนิคการตกปลาชะโด
ศาสตร์แห่งการสังเกตปลาจิบ
ดูให้ทัน ตาให้ไว มันหันหัวไปทางไหน สะบัดหางไปทางไหน มันยังลอยอยู่ หรือมันกำลังจะลง หรือมันพุ่งลงไปเร็ว หรือว่าตบหางบนผิวน้ำดัง ตั๊บบบบบ แรงๆ ดังๆ ........ คนที่ประสบการณ์สูงๆคงรู้ดี

ส่วนใหญ่จะตีผิดตีถูก ด้านข้างหรือผ่ากลางวงน้ำที่บานๆ ไม่ยากเลยครับสำหรับมือใหม่
กรณี ปลาขึ้นมาจิบโผล่มาแต่ปาก แล้วสังเกตได้ยินเสียงสูดอากาศดัง ฝู๊บบๆ ใกล้ๆเรือ ปลาตัวนี้ลงน้ำเร็วแน่นอน ตียาวๆ เกินวงน้ำไปสัก 4-6 เมตรครับ กะเอาน่ะ (กรณีน้ำลึก) กรอให้่เร็ว ถึงเร็วปานกลาง รอกผมเบอร์ 200 ครับ (ไม่ใช่รอกตีปลาขัง เด๋วพัง )
กรณี ปลาจิบแล้ว เห็นครีบหลังทั้งเส้น (มองทันพอดี) ปลาตัวนั้นค่อยๆลงครับ ตีเลยวง 1-2 เมตร ครับ กรอช้า เหยื่ออะไรก็ได้ดำไม่ลึกตัวปานกลาง ดูให้ทันว่าหางไปทางไหนหัวไปไหน
กรณี ปลาขึ้นจิบเป็นตลาดนัด จับเวลา 1 นาที น้ำบานประมาณ 50-80 วง นั่นคือท่านได้เจอฝูงมันแล้วครับ ใจเย็นๆ เงียบๆ ให้มันขึ้นให้มันส์ปากไปเลย เมื่อปล่อยให้มันจิบเป็นฝูงใหญ่ๆ ไซด์ 23456 โล ส่วนใหญ่ไม่แรกและไม้ 2 จะโดนและได้ตัวเลยครับ (ผมชอบปลาอยู่เป็นฝูงมากกว่าทุกแบบเลย) ปลาอยู่เป็นฝูงมักจะขึ้นช่วงโพล้เพล้ ตะวันจะตกดินครับ ตลาดนัดแห่งชะโด
แม่ ครอก มีนาคม เมษายน มักเป็นช่วงแม่ครอกให้กำเนิดบุตรธิดามหาศาล พาเหรดเลี้ยงลูกสวนสนามกันมันส์สะใจ ช่วงนี้แม่ครอกตัวใหญ่ครับ ไซด์ 6 7 8 9 10 แล้วแต่จะเจอ ตีง่าย ตกง่ายที่สุดในบรรดาปลาชะโดทุกรูปแบบ เหยื่อสีแสบๆ ขนาดกลาง ดำไม่ลึก Action แล้วแต่จะจินตนาการ สังเกตครอกพาลูกวิ่งไปทางไหน อย่าเอาเรือตามท้ายครอก จำคำนี้ไว้ให้ดีครับ (อย่าเอาเรือพายตามครอกที่วิ่งอยู่ข้างหน้าท่าน) เพราะถ้าท่านตีออกไปแล้วลากเหยือสวนกับที่แม่ครอกพาลูกวิ่งไป ต่อให้ Chock Lead เบอร์ 1.0 ก็ขาดครับ แม่ครอกจะงับที่หัวเหยื่อ ไม่ได้งับที่ท้องหรือที่หาง เจอ 10 ครั้งก็ขาด 10 ครั้งครับ ต้องเอาเรือออกด้านข้างของฝูง แล้วตีใส่บริเวณหน้าฝูงสัก 1 ฟุต จะมีโชคหรือไม่มี ก็อยู่ตรงนี้ครับ ผมถือว่าปลาแม่ครอกเป็นปลาที่ตกง่ายที่สุด เอาตัวง่ายที่สุด ถ้ามีอย่างอื่นเล่นๆอย่างอื่นดีกว่าครับ Spilite นักตกปลา มันวัดกันตรงนี้ครับ

ส่วนการตกด้วยเหยื่อสดนั้น
เริ่มต้นที่หมาย
ให้ดูการขึ้นผุดหายใจของชะโดเป็นหลักครับว่าจุดที่เราตกปลาขึ้นเวลาใหน และช่วงใหนแล้วค่อยกำหนดจุดอ่อย


การอ่อย
ให้ใช้ใส้ปลาที่ได้มา สดที่สุดเท่าที่จะหาได้ อ่อยในเวลาใหน ก็ควรไปตกในเวลานั้น
ระยะห่างจากฝั่ง มะควรที่จะเกิน ห้าเมตรจากฝั่ง หรือถ้าระนาบยาวอาจมากว่าห้าเมตรได้นิดหน่อย
ก่อนวันตก ห้าวันให้เริ่มอ่อย เช่นจาตกวันอาทิตย์ ให้อ่อยวันพุธ ซักห้าโล วันศุกร์ ที่เดิมเวลาเดิมอิกห้าโล
ผมไม่แนะนำให้ใช้เลือดวัวผสมนะครับ แต่ก็ไม่ห้ามครับ


อุปกรณ์

ชุดตกคาดว่ามีน้าๆมาแนะนำอยู่แล้วมะขอแนะนำ แต่ผมขอเสริมอิกนิดนึงนะครับ หากะติกนำเเข็งเก่าซักใบ ไว้แช่ เก็บความเย็นของใส้ปลาเวลาตก เพราะถ้าเหยื่อหมดความสด จะลำบากทั้งการร้อยใส้ และปลาเข้าช้าครับ แต่แช่นะครับมะใช่ผสมกับใส้หล่ะ เด๋วกลิ่นมะเข้มข้น


เทคนิคสายหน้า

ที่ผมใช้ ก็เบ็ดตัวใหญ่ๆ (เบ็ดตกชะโดอ่ะเเหละ) ใช้หลีดสลิงประมาณศอกนึงเป็นสายหน้า แล้วก็ใส่ลูกหมุน เพื่อร้อยกาสายไลน์    

การตก
ให้ใช้เลือดปลา ที่ได้มากาใส้ปลาอ่ะแหละทำการอ่อยก่อน ในพื้นที่เดิม ผมแนะนำว่ายังมะควรใช้ใส้ปลาอ่อยนะวันที่ตก เด๋วกินเหยื่ออ่อยหมดก่อน หรือถ้าอยากสาดให้กระจายก็สามารถทำได้
แต่ที่ผมนิยมก็ ใช้ผ้าอนามัยชุบเลือดปลาแล้วโยนลงจุดที่จาดกครับ เพื่อให้กลิ่นคาวเลือดค่อยๆกระจายออกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปลาไม่ทิ้งหมายด้วย
****คำเตือน ห้ามใช้ผ้าอนามัยมือสอง 5555555555 เด๋วมีการรำแก้บนอิก
อ่อยเสร็จแล้วก็มาถึงการเกี่ยว เหยื่อ
คาดว่า คงเคยเห็นใส้ปลาแล้วนะครับ ให้ทำการเกี่ยวบริเวณปอดหรือไต เนี่ยแหละของปลา(ซึ่งจะเป็นไตแข็งๆขาวๆอ่ะแหละ) สังเกตุง่ายครับ โดยเกี่ยวแบบแน่นทะลุเลยนะครับ แต่ไม่ต้องเกียวตามยาว
ของใส้ปลา ใส้ปลามีหลายขนาด เพราะฉะนั้นผมแนะนำว่าให้เกี่ยวให้เยอะที่สุด อย่างผมพวงนึงผมใช้ใส้ 5-10 ใส้ปลา ต่อเบ็ดตัวนึง
เสร็จแล้วให้เด็ดเหงือกออกให้หมดเลยครับ แนะนำว่าอย่าให้มีเหงือกเหลือ และที่สำคัญอย่าให้ตัวเบ็ดโผล่
เสร็จแล้วตีไปจุดที่เราอ่อยได้เลยครับ ที่ผมกำหนดไว้ว่า ห้าเมตร เนื่องจากตีเข้าจุดแม่น และไม่ไกล้ไม่ไกล จากบริเวณการหากินของเจ้าชะโด
  

การวางคันเบ็ด
ให้วางแนวระนาบนะครับ ขนานกับพื้นได้ยิ่งดีหลังจากที่ตีเหยื่อไปแล้ว
ถ้าเป็นสปินนิ่ง ให้เปิดแขนไว้เลยไม่ต้องปิด และในช่วง ปลายคันสามไกด์แรกให้ทำสายตกท้องช้าง เอาไว้มากๆ
ถ้าเป็นเบส ให้กดฟรีสปูนไว้เลยและในช่วง ปลายคันสามไกด์แรกให้ทำสายตกท้องช้าง เอาไว้มากๆ
ข้อสรุปก็คือ เราต้องให้ปลาดึงในช่วงแรกโดยไม่ให้สะดุดอารัยโดยเด็ดขาด แม้กาทั่งยอดหญ้าคือเทคนิดสำคัญของผม
การสังเกตุปลาเข้าเหยื่อ
1. ปลาจะเริ่มจากการผุดเข้ามาใกล้ๆ หรือวนหางของน้ำจะเริ่มหันหน้ามาทางเราเริ่มใช้เหงือกที่เราเด็ดออกอ่ะแหละครับอ่อยได้เลย
2. สังเกตุที่จุดปลางมเหยื่อ จะมีเม็ดผุดขึ้นถ้าหากว่าปลางม เพราะโดยสัญชาติญาญของเจ้าชะโดเมื่อคาบเหยื่อแล้วเขาจะวิ่งหรือพุ่งตัว ออกอย่างเร็วครับ



มาถึงการประจันบาน
เมื่อชะโดเริ่มงม เม็ดจาเริ่ม ขึ้นให้เห็น ให้เราเตรียมตัวที่จาเข้าสนับสนุนที่คันได้เลยครับ เบื้องต้นของการที่ชะโดกินเหยื่อเขาจาอมเหยื่อแล้ววิ่งครับช่วงนี้แหละ
ผมขอแนะนำว่าให้เราปล่อยสายช่วยให้เต็มที่ไปเลยครับ ย้ำห้ามมะให้สะดุดโดยเด็ดขาดนะ จนกว่าจาหยุดวิ่งอะแหละครับ โดยปกติที่ผมเจอจะมีตั้งแต่วิ่ง
1 เมตรแล้วหยุด ไปจนกาทั่งถึง ร่วมยี่สิบเมตรแล้วถึงหยุด อย่างที่ผมไปลองที่ท้ายเขื่อนแห่งนึงผมว่าร่วมสามสิบเมตรอ่ะแหละพ่อจึงหยุด
และในจังหวะที่หยุดลากสาย ให้ทำการปิดแขนรอก เช็คเบรคให้แน่นพอดีๆกับที่เราจาต้องสู้ กับเจ้าชะโด ถ้าเป็นเบสก็สับฟรีสปูนรอได้เลยครับ
เสร็จแล้วรอประมาณ 5-30 วินาที จากที่เคยพบนะครับ สายจาเริ่มวิ่งต่ออิก ช่วงนี้แหละ พ่อเจ้าประคุณเอ๋ย ที่ต้องพัฒนาประสบการณ์กันล่ะ
เราต้องให้สายเริ่มที่จะตึงนะครับไม่ใช่ตึง ที่ผมนิยมใช้นะ สายเริ่มที่จะตึง ถอยหลังอย่างเร็วสามก้าว เฟี๊ยววววววววว กาโดด ตูมมมมมมมมม มันนนนนนนน
แหมแค่คิดก็น้ำลายฟูมปากเลยอ่ะ



คำถาม
การอ่อย เวลา เดิม เพราะมะรู้นะครับ ที่ผมเคยตกผมจาอ่อยตอนเช้าที่แดดเริ่มจ้า แล้วก็สามารถตกได้ต่อเนื่องยันเย็นเลยอ่ะ อยู่ที่การดึงปลาให้อยู่หมาย
การวางคันนอน เพื่อให้เอ็นจาได้มะต้องสะดุดอะไรทั้งสิ้น เพราะถ้าสะดุดเขาจาคายเหยื่อออกทันที
การให้เอ็นตกท้องช้าง เพื่อง่ายต่อการสังเกตุ เวลาที่ปลาลากสาย ออก และเราคงไม่สังเกตุเอ็นได้ตลอดวันตลอดเวลา เพื่อป้องกันเอ็นสะดุด จึงปล่อยเยอะเข้าไว้
การปล่อยให้หยุดก่อน เพื่อให้เข้าได้กลืนเหยื่อก่อนเพื่อเวลาหวด จาได้ไม่วืด รู้สึกเองนะครับ เพราะเป็นยังงี้ แทบทุกภาคทุกหมายที่เคยไปลอง
ทำไมไม่หวดสวนขณะที่วิ่ง %ของการหวดสวนจะติดน้อยกว่าอย่างสูงเลยอ่ะครับ แล้วที่สำคัญ ปลาเข็ดครับไม่เข้าหมายอิก เราอุตส่าห์ลงทุนอ่อยซะเยอะ
ถ้าปลาเข็ดหมาย เราก็จาได้ตัวน้อย ทำให้มะคุ้มทุนอิกง่ะ


สายพันธุ์ปลาช่อนในไทย
ในประเทศไทยมีการสำรวจพบปลาผู้ล่าในสกุลปลาช่อน (Channa) ทั้งหมด 8 ชนิด

4 ชนิดแรก  


1. ปลาช่อนข้าหลวง(Channa marulioides)
ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 ซ.ม. ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น

2. ปลาช่อนงูเห่า(Channa aurolineatus)
มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 ซ.ม. พบได้บางพื้นที่ ยกเว้นภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนล่าง

3. ปลาก๊วนหรือปลาช่อนงูเห่าแม่น้ำโขง(channa Sp.)
เป็นปลาช่อนชนิดล่าสุดของไทยที่ถูกจำแนกชนิดใหม่ มีขนาดโตเต็มที่ราว 60 ซ.ม. มีรายงานพบทางแม่น้ำโขงและสาขาของแม่น้ำโขงในประเทศลาว

4. ปลาช่อนดำ(Channa melasoma)
ขนาดโตเต็มราว 30 ซ.ม. พบได้เฉพาะป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส และแม่น้ำโกลก ภาคใต้
5. ปลาชะโด (Channa micropeltes)
พี่ใหญ่สุดของปลาในสกุลนี้ ที่เรารู้จักกันดีครับ พบได้ทั่วทุกภาค

6. ปลากระสง (Channa lucius)
มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร  พบได้ทุกภาค แต่พบการกระจายพันธุ์น้อยสุดในสี่ชนิดหลังนี้

7. ปลาช่อน (Channa striata )
ถือเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดีที่สุดและยกให้เป็นปลาครูของนักตกปลา พบได้ทั่วทุกภาคครับ

8. ปลาก้าง (Channa limbata)
น้องเล็กสุดของปลาในสกุลนี้ครับ พบได้ทุกภาค สุดต้นน้ำบนยอดเขาจะพบปลาก้างเพียงชนิดเดียวในสกุลนี้
 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น