สนใจชวนไปตกปลา...ในเขตมหาสารคามและยโสธร

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ปลาสลิด



ปลาสลิด
ปลาสลิดปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีลำตัวที่หนาและยาวกว่า หัวโต ครีบหลังในตัวผู้มีส่วนปลายยื่นยาวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบอกใหญ่ ตาโต ปากเล็กอยู่สุดปลายจะงอยปาก ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาลคล้ำ มีแถบยาวตามลำตัวตั้งแต่ข้างแก้มจนถึงกลางลำตัวสีดำ และมีแถบเฉียงสีคล้ำตลอดแนวลำตัวด้านข้างและหัว ครีบมีสีคล้ำขนาดโดยเฉลี่ย 10-16 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่สุดถึง 25 เซนติเมตร นับเป็นปลาในสกุล Trichogaster ที่ใหญ่ที่สุดมีถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำและหญ้ารกริมตลิ่งของภาค กลาง ภาคอีสานและภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในประเทศรอบข้างพฤติกรรมในการสืบพันธุ์เริ่มขึ้นในระหว่าง เดือนเมษายน-สิงหาคม โดยจะวางไข่โดยการก่อหวอดตามผิวน้ำติดกับพืชน้ำหรือวัสดุต่าง ๆ มักวางไข่ในช่วงกลางวันแดดรำไร หลังวางไข่เสร็จแล้วตัวพ่อปลาจะเป็นผู้ดูแลไข่จนฟักเป็นตัว ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 4,000-10,000 ฟอง ในการเลี้ยงทางเศรษฐกิจนิยมให้เป็นการผสมพันธุ์หมู่ปลาสลิดนับเป็นปลาน้ำจืด เศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย นิยมแปรรูปเป็นปลาแห้งหรีอปลาเค็มที่รู้จักกันดี โดยเกษตรกรจะเลี้ยงในบ่อดิน โดยฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอนเพื่อเป็นอาหารปลา โดยพื้นที่เลี้ยงปลาสลิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ที่เรียกว่า "ปลาสลิดบางบ่อ" นอกจากนี้ยังมีอีกแหล่งหนึ่งที่เคยมีชื่อในอดีต คือที่ ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีมีชื่อเรียกในภาษามาเลย์ว่า "sepat siam" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "กระดี่หนังงู" (snakeskin gourami) และมีชื่อเรียกในราชาศัพท์อีกว่า "ปลาใบไม้" ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า "สลิด" เพี้ยนมาจากคำว่า "จริต" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้ทรงแนะนำให้เรียกปลาสลิดในหมู่ราชบริพารว่า ปลาใบไม้ เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้

ปลาสวาย



ปลาสวาย
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius hypophthalmus อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก (Pangasianodon gigas) รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8 - 9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร
พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 มีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน ในธรรมชาติ มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพ (P. larnaudi) เข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก และจากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเนื้อปลาสวายนั้นมีโอเมกา 3 คิดเป็นปริมาณแล้วสูงกว่าในปลาทะเลเสียอีก โดยมีถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม

ปลาเทโพ

ชื่อไทย เทโพ หูหมาด
ชื่อสามัญ BLACK EAR CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasius larnaudii
ถิ่นอาศัย แต่เดิมมีชุกชุมในลำน้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลง ในภาคอีสานพบในแม่น้ำโขง ชาวบ้านเรียก ปลาหูหมาด
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกับปลาสวาย เพราะเป็นปลาในสกุลเดียวกันมีหัวโตหน้าสั้นทู่กว่าปลาสวาย ลำตัวยาวและด้านข้างแบน นัยน์ตาค่อนข้างโตและอยู่เหนือมุมปาก ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง มีหนวดเล็กและสั้นอยู่ที่ริมปากบนและมุมปากแห่งละหนึ่งคู่ กระโดงหลังสูงและมีก้านเดี่ยวอันแรกเป็นหนามแข็ง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมแข็งข้างละอัน มีครีบไขมันอยู่ใกล้กับโคนครีบหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายเป็นแฉกลึก ลำตัวบริเวณหลังมีสีดำคล้ำหรือสีน้ำเงินปนเทา หัวสีเขียวอ่อน ท้องสีขาวเงิน มีจุดสีดำขนาดใหญ่เหนือครีบหู
การสืบพันธุ์ เจริญพันธุ์อายุ 8เดือนขึ้นไป พ่อแม่ปลาดุกขุดแอ่งตื้น ๆ ตามท้องนา และวางไข่ติดกับรากหญ้าก้นหลุม ไข่ติด สีน้ำตาลอมแดง การฉีดฮอร์โมน อัตราฉีดตัวเมีย suprefact 20 - 30 ไมโครกรัม/กิโลกรัมร่วมกับ motilium 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตัวผู้ 15 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมร่วมกับ motilium 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยตัวเมียทิ้งไว้ 16 ชั่วโมงแล้วจึงรีด ส่วนตัวผู้ทิ้งไว้ 10 ชั่วโมงแล้วผ่าเอาน้ำเชื้อออกมาทำการผสมเทียม โดยใช้วิธีแห้งแบบดัดแปลง
อาหารธรรมชาติ กินสัตว์น้ำที่ขนาดเล็กกว่าและซากของสัตว์

ปลาไน



ปลาไน
หรือที่เรียกกันสากลว่า ปลาคาร์ป (อังกฤษ: carp)
เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็น อาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง
เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นเว้าแฉกลึก สีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือน้ำตาลอ่อน ท้องสีจาง บางตัวอาจมีสีสัน ปลาตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณใบหน้า และครีบอก ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ทุกฤดูโดยวางติดกับพืชน้ำ
ปลาไนมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร หนักกว่า 40 กิโลกรัม และสามารถวางไข่ได้ถึง 1 แสนฟอง ชอบอาศัยรวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำไหลเชี่ยว และสามารถปรับตัวได้ทุกสภาพแหล่งน้ำ แต่จะไม่วางไข่ในแหล่งน้ำนิ่ง
เป็นปลาพื้นเมืองของประเทศจีนตะวันตกและภูมิภาคยุโรปตะวันออก ปลาไนมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า หลีฮื้อ
นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด จัดเป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อนุ่ม อร่อย และมีราคาแพง แต่ในบางภูมิภาค เช่น ออสเตรเลีย ปลาไนได้ถูกนำเข้าและถูกปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาต้ จนแพร่ขยายพันธุ์กระทบต่อสัตว์น้ำพื้นเมืองเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ มีฉายาเรียกว่า "กระต่ายแม่น้ำ" (River Rabbit)
ในประเทศไทยถูกนำเข้าโดยชาวจีนที่เดินทางมาทางเรือ ในปี พ.ศ. 2455 เพื่อเป็นอาหาร และได้ถูกเลี้ยงครั้งแรกในพื้นที่แถบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
อุปนิสัยของปลาปลาไน
ปลาไน เป็นปลากินพืชที่หากินโซนหน้าดิน โดยเฉพาะตามบ่อมักชอบคุ้ยดินขอบบ่อ กินอาหารได้แทบทุกชนิด ค่อนข้างตะกละ และมักถูกตกบริเวณใกล้ขอบบ่อได้ง่ายๆด้วยคันสั้น ปลาเกล็ดทุกชนิดมีประสาทการดมกลิ่นเหยื่อที่ใวโดยเฉพาะปลาไน
ปากปลาไนยืดหดตัวได้ตอนดูดกินเหยื่อ เหมือนท่อดูด ปากมีขนาดใหญ่ มักใช้การสูบเหยื่อที่บริเวณหน้าดิน
เหยื่อและวิธีตกชิงหลิวปลาไน
สามารถใช้เหยื่อได้ทั้งหมดทุกอย่าง ทั้งขนมปังป่น ขนมปังแผ่น หัวอาหาร รำ เหยื่อตกปลาเกล็ดทุกชนิดทุกยี่ห้อที่วางขายตามร้านอุปกรณ์ตกปลา
วิธีการตกชิงหลิว ใช้ เทคนิคหน้าดิน  โดยวางเหยื่อที่ผิวดิน
การเข้ามากินเหยื่อของปลาไน จะสังเกตุมีฟองอากาศเป็นเม็ดๆ ไล่มาเป็นทาง เป็นระยะๆ ทุ่นมักจมอย่างรวดเร็วมาก เนื่องจากการสูบเหยื่อของปาก เหมือนท่อ สครับเบอร์ ท่อดูดส้วม ซ๊วบ!.จ๊วบบ.. วัดไม่ทันก็ว่าวครับ ดูดแล้วพ่นพรืด ปากใหญ่ ขอเบ็ดเล็กมักว่าวถ้าช้า นอกจากบางจังหวะที่กินเต็มปาก ง่ายๆ ยกคันเบาๆก็ติด บางทีขอเบ็ดฝังลึกเข้าด้านในกรณีวัดคันช้า
ปลาไนเป็นปลาเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์ชิงหลิวเพื่อตั้งใจตกปลาไน ควรมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง นิสัยการติดเบ็ดแล้วสู้เบ็ดวิ่งออกแล้วย้อนเลาะเลียบด้านข้างฝั่งค่อนข้างดุ ดัน
 ปลาไนขนาดใหญ่ สู้เบ็ดมีลีลาดี มุดได้เนียน ชอบหลอกให้นักชิงหลิวบางท่านตายใจ ตั้งแต่การโดนวัดคันครั้งแรกมักจะดิ้นกับที่ก่อน จังหวะนี้นักชิงหลิวมักนึกไม่ถึง ว่าเป็นปลาไนขนาดใหญ่ แล้วออกวิ่งหน้าตั้งไปกลางหมาย สายเอ็นมักขาดได้ง่ายๆ  
หลอกครั้งต่อมาคือทำท่าว่าอ่อนแรงแต่มุดอยู่ตลอด นักชิงหลิวเผลอโดนหลอก โหนคันโน้มคันให้เชิดหัวขึ้นน้ำนึกว่าปลาอ่อน แต่จะถูกกระชากลงหน้าดินอีก ก็มีโอกาศสายขาดได้ง่าย  ปลาแค่ตามแรงงัดคันมาข้างหน้าเรา แต่จะพยายามอยู่หน้าดินตลอด ถ้าหยุดเล่นคันเมื่อไหร่ มีวิ่งก๊อกสองนับว่ามีลีลากวนประสาทที่ประทับใจมาก

ปลานิล


ปลานิล
สามารถ อาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา และแทนกันยีกา
ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและ แพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม
หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica)และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
ลักษณะทั่วไป เป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ ต่างกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร
ลักษณะนิสัย การกินเหยื่อและวิธีตกชิงหลิวปลานิล
ปลานิลเป็นปลาเกล็ดที่หากินหน้าดิน การเข้ามากินเหยื่อ การสังเกตุหมายปลานิล จะสังเกตุเห็นฟองอากาศ เม็ด สองเม็ด ลอยพักนึงแล้วแตกตัว ในบางลักษณะจะเห็นน้ำขุ่นคลุ้งขึ้นมาเป็นวง เนื่องจากปลานิลกำลังกัดรัง ซึ่งจะอยู่ใกล้ขอบบ่อหรือฝั่ง
ปลานิลเป็นปลาเกล็ดขนาดไม่ใหญ่เหมือนปลาจีนหรือปลาไน ไม่มีการขึ้นเล่นน้ำ แต่จะเป็นการว่ายลอยตัวผิวน้ำในบางเวลา ปลานิลที่ลอยผิวน้ำจะไม่สนใจเหยื่อ ตกปลาเกล็ดแบบชิงหลิว จึงมักโดนสไนเปอร์ซุ่มยิง
เหยื่อชิงหลิวตกปลานิล สามารถใช้ได้ทั้ง หัวอาหาร รำผสม ตามบ่อบางที่ใช้ขนมปังขอบปั่นเหมือนปลาจีน เนื่องจากปลานิลเป็นปลาเกล็ดที่รัปประทานไม่เลือกเหมือนปลาไน แต่ไม่ตะกละ รัปประทานได้ทั้งพืชและแมลง ได้หมด
เทคนิคชิงหลิว สามารถใช้วิธีตกหน้าดิน และลอยโซน4 เหนือหน้าดิน อยู่ที่สภาพอากาศ สภาวะการณ์ หมายตกปลา

ปลายี่สกเทศ



ปลายี่สก
ปลายี่สกเทศ หรือ ปลาโรหู้ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo rohita
ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)มีรูปร่างลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ริมฝีปากเป็นชายครุยเล็กน้อย และมีแผ่นขอบแข็งที่ริมฝีปากบนและล่าง มีเกล็ดขนาดเล็กตามแนวเส้นข้างลำตัว ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดเล็ก ครีบหางเว้าลึก ลำตัวด้านบนสีคล้ำ ปลาขนาดใหญ่จะมีจุดสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอ่อนแต้มที่เกล็ดแต่ละเกล็ด ท้องมีสีจาง ครีบสีคล้ำมีขอบสีชมพูอ่อนหรือแดงขนาดโตเต็มที่พบใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร เป็นปลาพื้นถิ่นของภูมิภาคเอเชียใต้ตอนบน  มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในระดับกลางของแม่น้ำจนถึงท้องน้ำ ใช้ปากแทะเล็มพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กและอินทรีย์สารเป็นอาหาร สามารถปรับตัวได้ดีในแหล่งน้ำนิ่งแต่จะไม่วางไข่ถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2511  เช่นเดียวกับ ปลากระโห้เทศ (Catla catla)  และปลานวลจันทร์เทศ (Cirrhinus cirrhosus)  เพื่อเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เป็นปลาเศรษฐกิจในประเทศ ปราฏฏว่าได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี และได้รับความนิยมมาก โดยมีการเลี้ยงอย่างแพร่หลายในหลายโครงการของกรมประมงทั่วปรเทศ อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของบ่อตกปลาต่าง ๆ อีกด้วย จนสามารถขยายพันธุ์ได้เองในแหล่งน้ำของประเทศไทย
ลักษณะนิสัย และการกินเหยื่อ
เป็นปลาเกล็ดที่หากินโซนหน้าดินจนถึงระดับลอยกลางน้ำ กินเหยื่อชิงหลิวได้ทุกชนิด ตำแหน่งเหยื่อที่ปลายี่สกชอบที่สุดคือเหยื่อลอยเรี่ยๆหน้าดิน อาการที่ปลายี่สกเข้ามากินเหยื่อ หรือหมายปลายี่สก จะพบฟองอากาศเม็ด สองเม็ด คล้ายปลานิล เหยื่อที่มีกลิ่นหมักเปรี้ยวจะชอบมาก ตามหมายธรรมชาติปลายี่สกขนาดใหญ่ชอบอยู่ตามบริเวณตอไม้ ต้นไม้ใหญ่ในน้ำ เพื่อไล่กินแมลง หนอนน้ำ และพืชน้ำที่เกาะตามต้นไม้  การกินเหยื่อชิงหลิวของปลายี่สกจะใช้การเล็มเหยื่อ แล้วดูดเข้าปาก ทุ่นจึงมักถอนและค่อยจมพรุบหาย  ตามธรรมชาติปลายี่สกสามารถหากินที่หน้าดิน เพื่อไล่หาอาหาร มักเป็นหน้าดินที่เป็นกรวด
วิธีตกชิงหลิวปลายี่สก
ใช้เทคนิคหน้าดินและลอยกลางน้ำ ขึ้นอยู่กับสภาวะการณ์
 วางเหยื่อได้ตั้งแต่ผิวหน้าดิน ลอยเรี่ยหน้าดิน ลอยโซน4
ปลายี่สกเป็นปลาขนาดใหญ่ และเป็นสายพันธ์ที่ทำลายสายเอ็นมากที่สุดในบรรดาปลาเกล็ดชิงหลิว เนื่องจากการวิ่งอย่างรวดเร็ว รุนแรง รวมทั้งการกระโดดสะบัดตัวเหนือผิวน้ำ ตามหมายธรรมชาติขนาดใซส์ที่ชิงหลิวมีโอกาศได้ตัวส่วนมากไม่เกิน 4 กิโลกรัม ใหญ่กว่านี้ แม้แต่สายเซฟยังหมดม้วน
การวิ่งของปลายี่สกจะพุ่งออกไปกลางหมายอย่างรุนแรง รวดเร็ว เหมือนแข่งควอเตอร์ไมล์รถยนต์ จังหวะแรกที่พุ่ง ถ้าปล่อยเซฟไม่ทันโอกาศสายเอ็นขาดสูงมาก
สู้เบ็ดแบบวิ่งวนฉวัดเฉวียนรวดเร็วทั้งกลางน้ำ ผิวน้ำ และกระโดด  อึด ปราดเปรียว  .. ถ้าโดนตามหมายธรรมชาติ แค่ใซส์ขนาดสองถึงสามกิโลกรัมนักชิงหลิวก็เหงื่อหยดหมดแรงแขนสั่น แล้วจะติดใจในลีลาของยี่สกมิยาบิ

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ปลากระสูบ

 

ชื่อไทย กระสูบจุด กระสูบขีด
ชื่ออังกฤษ
Eye - spot barb , Tranverse - bar'barb
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hampala dispar [Smith] , Hampala
macralepidota [Van Hasselt]
ถิ่นอาศัย
          พบในแม่น้ำ ลำคลองทั่วไปทุกภาคของไทย
ลักษณะทั่วไป
          อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน ลำตัวค่อนข้างยาว ด้านข้างแบนท้องกลมมน จะงอยปากแหลม ปากกว้างและเอียงขึ้นเล็กน้อย มีหนวดที่มุมปาก 1 คู่ ครีบหลังอยู่ตรงข้ามกับครีบท้อง มีเกล็ดใหญ่ สีของตัวจะเป็นสีขาวเงิน มีลายดำพาดขวางลำตัว หางสีแดงสด ครีบสีแดงหรือสีส้ม มีขนาด 20-50 เซนติเมตร
อาหารธรรมชาติ
          กินลูกปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร
พฤติกรรม
          เป็นปลาที่ว่องไว ปราดเปรียวและตื่นตกใจง่าย โดยทั่วไปมีนิสัยก้าวร้าวไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงรวมกับชนิดอื่นเพราะแม้แต่ พวกเดียวกันเอง ถ้ามีขนาดแตกต่างกันหากนำมาเลี้ยงรวมกันจะกัดกันเอง
อุปกรณ์ที่ใช้
คันเบ็ดและรอก ใช้ได้ทั้งชุดสปินนิ่งและเบทคาสติ้ง
ขนาดปานกลางขึ้นไป
สายเอ็น เลือกใช้ได้ตั้งแต่ 8 - 16 ปอนด์
ลีดเดอร์ ใช้สายเอ็นไนลอนธรรมดาขนาดใหญ่กว่า
สายเอ็น 1 - 2 เท่า
เหยื่อ ใช้เหยื่อสดได้หลายชนิด เช่น กุ้ง ปลาเล็ก
ไส้เดือน แต่เลือกใช้เหยื่อเป็นจะได้ผลมาก
กว่า โดยใช้เหยื่อลูกปลาสร้อย ปลาตะเพียน
ตัวเล็กๆ ปลาซิวแก้ว เป็นต้น แต่ส่วนมาก
นักตกปลานิยมใช้วิธีตกปลากระสูบด้วยเหยื่อ
ปลอมประเภทสปูน สปินเนอร์และปลาปลอม
ปลากระสูบทั้ง 2 ชนิด คือกระสูบจุดและกระสูบขีดนี้มีความแตกต่างกันไม่มากนัก ดังนั้นจะอธิบายลักษณะรวมของมันไปพร้อมๆ กัน ปลากระสูบเป็นปลาเกล็ดลำตัวแบนมีช่วงกว้างตรงส่วนท้องและเรียวไปทางส่วนหาง ตาโต ปากขนาดปานกลาง เกล็ดกลมขนาดใหญ่ ครีบหลังตั้งสูงเป็นก้านครีบแข็ง หางแฉกลึก มีเส้นสีดำปนแดงคาดตามแนวครีบหางทั้งด้านบนและล่าง ด้านละ 1 แถบ จุดเด่นก็คือรอยคาดสีดำตรงจุดกึ่งกลางลำตัวมองเห็นได้ชัด ลำตัวด้านบนเป็นสีเขียวปนเหลืองและเหลืองทอง ท้องสีขาว มีฟันเล็กละเอียดอยู่ทั้งขากรรไกรบนและล่าง ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของปลากระสูบขีด ส่วนปลากระสูบจุดนั้น ครีบหลังจะสั้นกว่ารวมทั้งครีบหางจะแคบและแฉกลึกเข้าในน้อยกว่า สิ่งที่เป็นขอแตกต่างเห็นได้ชัดคือจุดสีดำขนาดปานกลางอยู่ตรงกึ่งกลางลำตัว น้ำหนักขนาดของปลากระสูบนั้นโดยเฉลี่ยประมาณ 1 กิโลกรัม แต่ก็มีขนาดใหญ่น้ำหนักถึง 4 - 5 กิโลกรัมด้วยถ้าโตเต็มที่ เมื่อมีขนาดเล็กๆ จะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ขึ้นไล่ลูกปลาบนผิวน้ำเห็นได้ชัดเจน อาหารของประกระสูบได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา และแมลงน้ำ ปลากระสูบพบทั่วไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำธารต่างๆ ปัจจุบันมีอยู่ชุกชุมตามอ่างเก็บน้ำหลายแห่ง ปลากระสูบขีดจะพบในเขตภาคกลางและภาคใต้ ส่วนกระสูบจุดนั้นจะพบมากทางภาคอีสาน ปลากระสูบเป็นปลาที่มีก้างมากพอสมควร แต่ก็สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เมื่อนำมาย่างรมควันและนำไปปรุงอาหารอื่นๆ จะให้รสชาติที่ดีกว่าบริโภคสด

ปลาบึก

ปลาบึก (อังกฤษ: Mekong Giant Catfish, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาว เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบัน IUCN จัดปลาบึกอยู่ในกลุ่ม Critically Endangered ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก
ปลาบึกถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pangasinodon[1] ลักษณะภายนอกที่สามารถแยกแยะปลาบึกออกจากปลาในสกุล Pangasius ซึ่งเป็นปลาในสกุลที่ใกล้เคียงที่สุด ได้แก่ลักษณะของฟันและหนวด ปลาบึกไม่ มีฟันและเกือบจะไม่มีหนวด โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป และตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปากเมื่อมองจากด้านหน้าตรง ๆ จะไม่เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ อีกทั้งปลาบึกมีซี่กรองเหงือกเล็กกว่า และ ปลายถุงลมจะลงถึงบริเวณช่วงท้องไม่เกินครีบก้น อีกทั้งความกว้างของปากและส่วนหัวของปลาบึกก็มีมากกว่า
อาหารของปลาบึกใน ธรรมชาติคือพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ตะไคร่น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150-200 กิโลกรัม ใน 5 ปี ปลาที่หนักที่สุดเท่าที่เคยจับได้เป็นตัวเมีย (บางรายงานระบุผิดว่าเป็นตัวผู้) ยาว 2.7 เมตร และหนัก 293 กิโลกรัม (646 ปอนด์) เจ้าหน้าที่กรมประมงสามารถรีดไข่ได้สำเร็จแต่ปลาตัวนี้ก็ตายก่อนที่จะปล่อย กลับธรรมชาติ
ในธรรมชาติยังไม่มีผู้พบปลาวัยอ่อน ปลาบึกเป็น ปลาที่อพยพว่ายน้ำจากแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน เพื่อที่จะไปผสมพันธุ์และวางไข่ที่ทะเลสาบเขมร โดยฤดูกาลที่ปลาอพยพมานั้น ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะถือว่าเป็นประเพณีจับปลาบึก โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
ปลาบึกถือ เป็นอาหารที่ราคาสูงในประเทศลาว ในอดีตมีการประกอบพิธีกรรมร่วมกับการจับปลาชนิดนี้ ซึ่งมีการจับเพียงครั้งเดียวต่อปี และเนื้อปลาก็พบเห็นได้น้อยตามตลาด นอกจากเนื้อแล้ว ตับและไข่ปลาหมักเป็นอาหารรสชาติดี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
ปลาบึกมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ไตรราช"
ปลาบึกที่ มีขายในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการผสมเทียม โดยกรมประมงสามารถผสมเทียมและได้ลูกออกมานำไปปล่อยไปในแหล่งน้ำหลายแห่งใน ประเทศ อาทิ เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา, บ่อน้ำภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นต้น

ปลาแบส




Peacock Bass : Cichla
            ปลาในสกุล Cichla เป็นปลาหมอที่มีความใหญ่โตที่สุดในอเมริกาใต้ เนื่องจากแม่น้ำอเมซอนมีหลายหลายสาขาแบ่งย่อยออกไปทำให้ปลาในสกุลนี้มีความ หลากหลายตามไปด้วย ด้วยปากที่มีขนาดใหญ่ สายตาที่ดีเยี่ยม ลำตัวที่แข็งแกร่ง พละกำลังอันมหาศาล ทำให้พวกมันอยู่ในห่วงโซ่อาหารลำดับต้นๆของแม่น้ำนี้เลยก็ว่าได้
            ทำไมถึงเรียกว่า Peacock Bass?  เนื่องจากปลาตระกูลนี้มีลายที่หาง มีลักษณะและความสวยงามคล้ายลายบนขนของนกยูง (Peacock) จึงเรียกว่า Peacock Bass นั่นเอง



ซึ่ง ปลาสกุลนี้แบ่งออกเป็น 5 สายพันธุ์ ใช้โครงสร้าง และลวดลายเป็นหลักในการแบ่งสายพันธุ์  ได้แก่

                                  Cichla temensis  เทมเมนซิส
                                  Cichla orinocensis ออริโนเซ็นริส
                                  Cichla monoculus โมโนคิวเรส
                                  Cichla ocellaris  ออสซิราลิส
                                  Cichla intermedia อินเทอร์มีเดีย
ภาพ Cichla temensis
ภาพ Cichla orinocensis
 ภาพ Cichla monoculus
ภาพ Cichla ocellaris
ภาพ Cichla intermedia
เรามาเริ่มทำความรู้จักกับปลาสกุลนี้เลยครับ

เริ่มที่ตัวแรก Cichla temensis – Tucunare (ชื่อเรียกพื้นเมือง)  ตัวนี้เหมือนเป็นเครื่องหมายการค้าของปลาสกุลนี้เลย ก็ว่าได้เพราะว่ามีขนาดใหญ่ที่สุด แพร่กระจายอยู่ตามสาขาต่างๆทั่วทั้งอเมริกาใต้ สามมารถโตได้ 30 นิ้วขึ้นไป  ปลาในวัยเด็กจะ มีแถบดำขนานกับลำตัวของปลาตั้งแต่แก้มไปจนถึงหาง เมือโต ลายดังกล่าวจะหายไป  และปรากฏ มุกแวววาวขึ้นมาแทน ดังในภาพที่สองเป็นแบบ Paca หรือตามเป็นอีกแบบตามภาพที่สาม เรียกว่า Assu  ส่วนใหญ่เป็นปลานำเข้าจากต่างประเทศ ยังไม่มีการเพาะกันมากนัก เลยราคาแพง


ต่อกันด้วย ตัวที่ 2
Cichla orinocensis
(Taua or Borboleta )
ชนิดนี้จะพบทางตอนบนของแม่น้ำ Rio Negro และพบมากใน Rio Jau และ RioBranco ทางตอนเหนือของประเทศบราซิล ตลอดจนปากแม่น้ำ Rio Orinoco โตเต็มที่ประมาณ 30 นิ้ว  เมื่อโตเต็มวัยจะมีจุดมาร์ค หรือ ocelli 3 จุด ไม่มีจุดมาร์คที่แก้ม ดังภาพด้านล่าง

ตามมาด้วยตัวที่ สาม Cichla monoculus (Popoca หรือ Botao)
กระจายอยู่ทั่วทั้งอเมริกาใต้ โตได้ถึง 20 นิ้ว มีแถบที่หลังเพียงสั้นๆไม่พาดยาวเหมือนเทมเมนซิส มีแถบดำยาวใกล้ๆกับครีบอก ไม่มีจุดมาร์ค หรือ ocelli ตามลำตัวและแก้ม ดังภาพด้านล่าง
ตัวที่ สี่ Cichla ocellaris (Tacutu) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ออสสิราลิสๆ

ตัวนี้รู้จักกันดีในนาม butterfly peacock bass อยู่ทางตอนบนของRio Branco ประเทศบลาซิล ตลอดจนได้รับรายงานว่าพบที่ Florida, Hawaii, และ Puerto Rico  ไม่มีมาร์คที่แก้ม มีแถบดำพาดกลางลำตัว โตเต็มที่ประมาณ 25 นิ้ว
และตัวสุดท้าย Cichla intermedia  เจ้าตัวนี้พบเฉพาะ ทางออกแม่น้ำOrinoco เท่านั้น มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลเพียง 18 นิ้ว เอกลักษณ์ คือ มีแถบดำ 8 แถบ ดังภาพด้านล่าง
ทั้งนี้ทั้งนั้น การจำแนกชนิดของปลาก็ยังสาขาจำแนกออกไปตามสถานที่พบได้อีก จะพบได้ว่าปลามีลวดลายที่หลากหลาย ทำให้เกิดการสับสน ปัจจุบันปลาชนิดนี้ได้ถูกมาปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น กว่าเดิม จึงเกิดการข้ามสาย ดูยากยิ่งกว่าเดิมอีกครับ

ปลาที่เข้ามาส่วนมากจะเป็น เทมเมนซิส ออสซิราซิส และ โมโนคิวเรส สามารถเพาะได้ในประเทศไทยแล้วนะครับ ส่วนเจ้า ออริโน นี้ก็ราคาแพงมากครับ ไม่มีใครนำเข้า การเลี้ยง : ปลาสกุลนี้เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ และมีกำลังมาก ตู้ที่ใช้เลี้ยงจึงควรมีขนาดใหณ่ตามขนาดของปลาและจำนวนปลาด้วย อาจจะเป็นตู้โล่งหรือประดับด้วยไม้น้ำ เพื่อ ลดความเครียดของปลา

อุณหภูมิ : เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาเขตร้อนที่สุดก็ 28c ครับ เมื่อถึงฤดูหนาว ก็ควรใส่ฮีตเตอร์ ให้ปลาด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีของปลา

อาหาร : ปลาสกุลนี้เป็นปลากินเนื้อครับ ลูกปลา กุ้งฝอย หนอนนก บางตัวอาจยอมรับอาหารเม็ด ของตาย สามารถให้ได้ครับ การให้อาหารควรให้แค่พออิ่ม เพราะเป็นปลาที่ตะกละมาก อาจส่งผลต่อสุขภาพของปลาได้ครับ
แท็งเมท : ควรเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าหน่อย อาจจะเป็นแคชฟิช จากแม่น้ำเดียวกัน และไม่กัดทำร้ายมันด้วยนะครับ

ปลาเค้า




ปลาเค้าขาว (อังกฤษ: Great white sheatfish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Wallago attu อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีส่วนหัวและจงอยปากปากยื่นแหลม ปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยด้านหลังของลูกตา มีฟันแหลมเล็กบนขากรรไกร ตาเล็ก มีหนวดที่ริมฝีปากยาวถึงครีบก้น หัวและลำตัวตอนหน้าแบนข้างเล็กน้อย แต่ตอนท้ายแบนข้างมาก ส่วนหลังป่องออก ครีบหลังอันเล็กมีปลายแหลม ครีบหางเว้า ตื้น ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ตัวมีสีเงินวาวอมเขียวอ่อนที่ด้านหลัง ในปลาบางตัวมีแถบยาวสีคล้ำที่ด้านข้างลำตัว ด้านท้องสีจาง บางตัวอาจมีครีบสีคล้ำอมเหลืองอ่อน มีขนาดโดยเฉลี่ย 70 - 80 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร มักหากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เวลาล่าเหยื่อจะว่องไวและดุดันมาก ในบางครั้งที่ล่าเหยื่อบนผิวน้ำกระแทกตัวกับน้ำจนเกิดเสียงดัง

พบในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่ประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, บังกลาเทศ, แม่น้ำสาละวินถึงแม่น้ำโขง พบน้อยในภาคใต้และคาบสมุทรมลายู เป็นปลาที่นิยมบริโภคโดยปรุงสด รมควัน มีราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้แล้วยังนิยมตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ โดยมีชื่อเรียกในภาคอีสานว่า "เค้าคูน"
ชื่อไทย เค้าขาว
ชื่อสามัญ GREAT WHITE SHEATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์  Wallago attu
ถิ่นอาศัย พบอยู่ตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา บึงบอระเพ็ด แม่น้ำโขง
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาใหญ่ ไม่มีเกล็ด อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นแหลม ปากกว้างมาก มีฟันแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง มุมปากยาวเกินหลังตา ตาเล็ก มีหนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณครีบก้น หัวและลำตัวตอนหน้าแบนข้างเล็กน้อย แต่ตอนท้ายแบนข้างมาก ครีบหลังเล็กมีปลายแหลม ครีบก้นเป็นแผ่นยาว ครีบอกใหญ่ ครีบหางเว้าตื้น สีของลำตัวเป็นสีเงินวาวอมเขียวอ่อนที่ด้านหลัง ด้านข้างลำตัวในปลาบางตัวมีแถบสีคล้ำตามแนวยาว ท้องสีจาง ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน เป็นปลาที่แข็งแรงบางคราวพุ่งตัวขึ้นเหนือน้ำและปล่อยตัวให้ตกลงมาทำให้เกิด เสียงดัง
การสืบพันธุ์ เพาะพันธุ์โดยการฉีดฮอร์โมนแล้วผสมเทียม โดยรีดไข่และน้ำเชื้อ ไข่จะฟักออกเป็นตัวประมาณ 23 ชั่วโมง
อาหารธรรมชาติ  กินปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาสร้อย
การแพร่กระจาย -
สถานภาพ (ความสำคัญ)  เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
ปลาเค้า   มักจะอยู่บริเวณที่มีน้ำไหลผ่าน  การดูหมายปลาเค้านั้น   ตามที่หนูได้เรียนรู้จากคุณพ่อ ของหนูเอง  ท่านบอกว่า  มันมักจะอยู่บริเวณที่มีน้ำไหลผ่าน  ไม่ค่อยแรงมาก ความเร็วของผิวน้ำต่อใต้น้ำเป็นอัตราส่วน 6ต่อ2 นั่นคือ  ข้างล่างจะไม่ไหลเร็วมากนัก     จะอยู่ตามแอ่งของมัน  หาง่ายมาก   ถ้าเกิดว่า มีที่ไหนที่เค้าเลี้ยงกระชังปลาเอาไว้   หมายตกเลยล่ะ  อย่างน้อยๆ ก็พอมีตัวให้เห็นได้บ้าง  มันมักอยู่ในที่ลึก  ในเวลาที่อากาศร้อนๆ ค่ะ  แล้ว มัก ขึ้นมาเล่นน้ำในช่วงที่อุณหภูมิลดต่ำลง 
เหยื่อที่ใช้  น้าๆใช้ได้หลายหลาก มากมายเลยทีเดียว    แต่ที่หนูใช้  และ ครอบคลุมมากที่สุด  ก็คงหนีไม่พ้น  ไส้ปลาทู  (ซึ่งทุกวันนี้ มันหายากจริงๆ )

การตก  วิธีการตก   อันนี้ตามแต่เทคนิคของแต่ล่ะบุคคลนะ   แต่ของคุณพ่อที่ใช้  เค้า มัก จะทำให้ปลา ระแวงตัวน้อยที่สุด  ซึ่ง วิธีการนั้น  ดั้งเดิมและ  ขออนุญาติ เก็บไว้นะ   เพราะว่าหนูเองก็รู้มาไม่มากหรอก

ปลาสลาด


ปลาสลาด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Notopterus notopterus อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างไม่เกินลูกตาเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวมีสีเรียบ ยกเว้นปลาวัยอ่อนจะมีลายบั้งเหมือนปลากราย (Chitala ornata) วัยอ่อน จมูกมีสองคู่ คู่หน้ายื่นออกมาคล้ายหลอดหรือหนวด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่เล็กที่สุดชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Notopterus[1]

พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ที่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะสุมาตรา และชวาหรือบอร์เนียว เป็นปลาที่หาง่าย มักอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมนำเนื้อไปทำทอดมันแทนเนื้อปลากรายซึ่งมีราคาแพงกว่าได้ นอกจากนี้ยังแปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ได้อีก เช่น ลูกชิ้นสับนก หรือรมควัน เป็นต้น และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยเฉพาะปลาที่กลายสีเป็นสีเผือก

ปลาสลาด ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น "ตอง", "ฉลาด" หรือ "ตองนา" เป็นต้น
เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างคล้ายปลา กรายแต่มีขนาดเล็กกว่า ไม่มีจุดสีดำที่ครีบก้น ลำตัวมีสีขาวปนเทา ครีบหลังและครีบอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดกันเป็นแผ่นเดียว โดยทั่วไปมีขนาดความยาว 15 - 20 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดเท่าเคยพบมีความยาวถึง 30 เซนติเมตร

พบในแม่น้ำคลองทั่วไปของทุกภาคของไทย อาหารได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้ง

ขี้อาย ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ และหลบพักตามตอไม้หรือซอกหิน ไม่ชอบแสงสว่างมาก ออกหากินในเวลากลางคืน โดยชอบผุดขึ้นมาฮุบอากาศทำเสียงที่ผิวน้ำและม้วนตัวกลับให้เห็นด้านข้างขาว คล้ายสีเงิน
วิธีการตก ง่าย มากๆ    ผูกสายหน้าแบบธรรมดาทั่วไป   ได้ทั้งทุ่นลอยแล้วก็หน้าดิน   (ปกติหนูชอบหยอดเอาแบบใช้ทุ่นมากกว่า)

สายหน้ายาวนิดหน่อย   เกี่ยวอาหารที่ใช้ตก  น้าๆท่านไหนสะดวกอารายก็ตามสบายเลย  แต่ หนูมักจะใช้อยู่ สาม อย่างค่ะ 1 ไส้เดือน 2. หมูหมัก 3. ตั๊กแตน   
การหาหมายตก   หนูชอบที่จะตกตาม  กอผักบุ้ง  ผักกระเฉด  หรือ  บริเวณที่มีพืชน้ำปกคลุม อยู่   ความลึก  ระดับที่เจ้าพวกนี้อยู่ มักชอบอยู่ที่ระดับความลึกราวๆ   1.30-3.00 เมตร   จะเห็นฟองอากาศที่ใช้หายใจอยู่เป็นระยะๆ 

การตกนั้น  ถ้าเป็นคัน(มักใช้คันไม้ไผ่ ((สนุกมากๆ)) )   หนูมักจะชอบใช้ปลายคันแตะน้ำให้เป็นวง เบาๆ    สักเดี๋ยวก็มา  (เหมือนพระสังข์เรียกปลา ฮ่าๆๆๆๆ )

จากนั้น ก็วัดเอาเลยค่ะ  ช่วงที่ตกดีที่สุด  อยู่ ราวๆ 06.00-10.00  และช่วงเวลา 17.00-19.00  

ปลากา







ปลากาดำ เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo chrysophekadion อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างป้อม แต่หลังป่องออก ครีบหลังสูง ไม่มีก้านครีบแข็ง มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่และมีติ่งเล็ก ๆ เป็นชายครุยอยู่รอบบริเวณริมฝีปาก เกล็ดเล็กมีสีแดงแซมอยู่ในแต่ละเกล็ด ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม อันเป็นที่มาของชื่อ ในปลาวัยอ่อนบริเวณโคนหางมีจุดดำเด่น เมื่อโตขึ้นมาจะจางหาย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 90 เซนติเมตร[1]

มักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยการแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย พบในแม่น้ำขนาดใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้

บริโภคโดยการปรุงสด เช่น ลาบหรือน้ำยา เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่มีเนื้อมาก และยังทำเป็นปลาร้าได้อีกด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่มีนิสัยก้าวร้าวชอบระรานปลาตัวอื่นโดยเฉพาะจะใช้ปากไปดูดแทะเนื้อตัวปลา ตัวอื่น
ปลากาดำ ยังมีชื่อที่เรียกแตกต่างออกไปตามภาษาถิ่น เช่น "เพี้ย" ในภาษาเหนือ "อีตู๋" หรือ "อีก่ำ" ในภาษาอีสาน ปัจจุบันปลากาดำเป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายในบ่อเลี้ยง
ปลากา(ปลาเพี้ย)  
Black Shark
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Morulius chrysophekadion
ลักษณะทั่วไป
     เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลาง ลำตัวเรียวยาวด้านข้างแบน พื้นลำตัวสีม่วงดำหรือน้ำเงินดำ เกล็ดมีขนาดใหญ่คลุมตลอดลำตัวยกเว้นส่วนหัว หัวเรียวแหลม ปากยืดหดได้ ไม่มีฟัน ริมฝีปากบนและล่างเป็นหยัก มีติ่งเนื้อเป็นฝอยสั้น ๆ อยู่รวมกันเป็นกระจุก มีหนวด 2 คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และสูงมาก ครีบหู ครีบท้อง และครีบก้น เรียวยาวและมีขนาดไล่เลี่ยกัน ครีบหางยาวเป็นแฉกเว้าลึก ครีบทุกครีบมีสีดำ ตัวใหญ่สุดอาจยาวถึง 48 เซนติเมตร
     

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     พบในประเทศไทย ตามแหล่งน้ำที่มีระดับน้ำตื้นๆ และมีพันธุ์ไม้น้ำ
     กินตะไคร่น้ำ พืชน้ำขนาดเล็ก แพลงก์ตอน ซากพืชและตัวอ่อนแมลงน้ำ
พันธุ์ปลาน้ำจืด   อีกชนิดนึง  ที่อยากจะทำความรู้จัก   เนื้อนั้นอร่อยดีแท้    (เอาไปลาบนะ  อิอิ )

ที่เคยตกได้ส่วนใหญ่  ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ    ปลาพวกนี้ อาศัยอยู่ไม่ไกลจากตลิ่งมากนักค่ะ   สังเกตบริเวณที่มีฟองน้ำผุด  เป็นฟองฝอยๆเล็กๆ  และเป็นช่วงชุด  แต่ล่ะ ช่วงๆ......มักอยู่ใกล้กับบริเวณที่มีพืชน้ำ ซากรากไม้ และกอหิน
ารตกนั้น  เน้น หน้าดินเป็นส่วนใหญ่  เหยื่อเป็นเหยื่อที่ค่อนข้างจะต้องให้ปลานั้นดูด เข้าไปได้  แร่ะมีส่วนผสมของพืช(เหมย)บ้างบางส่วน

น้าบางท่าน  นิยม เอาเม็ดโฟม มาเกี่ยวที่ตะขอ  เพื่อให้ปลานั้นสามารถดูดเข้าปากได้แล้ว เซ็ตฮุก ได้    อย่างไรก็ตามปลาชนิดนี้  ถือว่าเป็นปลาที่ตกได้หลากหลาย   ตามแต่น้าๆจะแนะนำ

ปลายี่สกไทย







ปลายี่สกไทย  
Seven-Stripped Carp
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Probarbus jullieni
ลักษณะทั่วไป
     ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่สวยที่สุดชนิดหนึ่ง ลำตัวสีทองสดใส มีแถบสีดำพาดตามยาว 7 แถบ ตาสีแดงสด เคยมีรายงานว่าปลาตัวที่ใหญ่ที่สุดมีลำตัวยาวถึง 1.35 เมตร และมีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม ลักษณะเด่นเฉพาะของปลายี่สกได้แก่มีฟัน 4 ซี่เรียงกันเป็นแถวเดียวในคอหอย และริมฝีปากบนมีหนวดสั้นๆ 1 คู่
     
ถิ่นอาศัย, อาหาร
     ปลาชนิดนี้มีเขตแพร่กระจายที่ค่อนข้างจำกัดในบริเวณประเทศแถบอินโดจีน ไทย ลงไปถึงมลายู พบอาศัยอยู่ในแม่น้ำใหญ่ๆ ในไทยหลายสาย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขง
     อาหารส่วนใหญ่ของปลาชนิดนี้ได้แก่ พืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวกลูกปลา ลูกกุ้ง และหอยน้ำจืด

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     ชอบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลเย็นในระดับความลึกตั้งแต่ 5 ถึง 10 เมตร
     พฤติกรรมการผสมพันธุ์เริ่มในราวเดือนตุลาคม เมื่อปลาที่โตเต็มวัยจะเริ่มว่ายทวนน้ำกลับไปสู่แหล่งวางไข่ทางเหนือน้ำซึ่ง มีลักษณะเป็นร่องน้ำลึกตามแก่งหินในลำธาร ที่มีพื้นท้องน้ำเป็นทรายหรือกรวดปลายี่สกมีเผ่าพันธุ์เชื้อสายเดียวกับปลาตะเพียน เช่นเดียวกับปลาตะโกก ปลากะโห้ ปลานวลจันทร์น้ำจืด และปลาสร้อย
    ในภาคกลางพบปลายี่สกอาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำป่าสัก แควน้อย แควใหญ่ ภาคเหนือพบมากที่แม่น้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย จังหวัดอุบลราชธานี มีมากในจังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครพนม
    เมื่อ 50 ปีก่อน ดร.สมิท ที่ปรึกษาราชการกรมรักษาสัตว์น้ำแห่งรัฐบาลสยาม รายงานว่าปลายี่สกเป็นปลาดีที่นิยมของชาวราชบุรีพอ ๆ กับปลาจาดหรือปลาเวียนอันมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี
    ในต่างประเทศ เคยพบในประเทศมาเลเซีย และคาดว่าคงจะพบในประเทศลาว เขมร และเวียดนามด้วย
    ตามธรรมชาติ ปลายี่สกกินพืชในน้ำเป็นอาหารหลัก และอาจกินสัตว์หน้าดิน ลูกกุ้ง ลูกปู และไรน้ำด้วย

    อุปนิสัย
    ปลายี่สกชอบอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ที่พื้นท้องน้ำมีลักษณะเป็นกรวดทราย ระดับน้ำลึก 5-10 เมตร น้ำเย็นในสะอาด จืดสนิทและเป็นบริเวณที่มีน้ำไหล วังน้ำกว้างและมีกระแสน้ำไหลวน ลูกปลาจะไปรวมกันอยู่เป็นฝูงตามบริเวณที่เป็นอ่าว และพื้นเป็นโคลนหนาประมาณ 10-20 เซนติเมตร
    พอถึงเดือนตุลาคม ปลาจะเริ่มว่ายทวนขึ้นไปเหนือน้ำเพื่อวางไข่และจะกลับถิ่นเดิมในเดือน พฤษภาคมหรือพอน้ำเริ่มมีระดับสูงขึ้น ปลายี่สกจะพากันไปอาศัยตามห้วยวังที่มีน้ำลึก กระแสน้ำไหลคดเคี้ยว พื้นดินเป็นดินทรายและกรวดหิน เป็นท้องทุ่ง (คุ้ง) หรือวังนัที่กว้างใหญ่ใกล้เขาสงบ น้ำใสสะอาด ลึกตั้งแต่ 5-10 เมตร หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดมา

    ลักษณะรูปร่าง
    ปลายี่สกมีลักษณะเด่นคือ สีของลำตัวเป็นสีเหลืองนวล ลำตัวค่อนข้างกลมและยาว บริเวรด้านข้างมีแถบสีดำข้างละ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของลำตัว ลายตามตัวเหล่านี้จะปรากฏในลูกปลาที่มีขนาด 3-50 นิ้ว บริเวณหัวมีสีเหลืองแกมเขียว ริมปากบนมีหนวดสั้น ๆ 1 คู่ มีฟันที่คอหอยเพียงแถวเดียว จำนวน 4 ซี่ เวลากินอาหารทำปากยืดหดได้ เยื่อม่านตามเป็นสีแดงเรื่อ ๆ ครีบหลัง ครีบหู ครีบท้อง ครีบก้น มีสีชมพูแทรกอยู่กับพื้นครีบ ซึ่งเป็นสีเทาอ่อน หางค่อนข้างใหญ่และเว้าลึก
    ปลายี่สกเป็นปลาขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในจำนวนปลาน้ำจืดด้วยกันพบในจังหวัดกาญจบุรี ขนาดใหญ่ที่สุดยาว 1.35 เมตร น้ำหนัก 40 กิโลกรัม
      มาถึง วิธีการตก   
อันนี้  เป็น เหมือนการ ตกปลา หน้าดินทั่วไป  ตาม เขื่อน หรือ แหล่ง น้ำธรรมชาติ   โดย ปลา พวกนี้  มักจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง  หากเรียกฝูงได้  ก็สบาย
เหยื่อ ที่ใช้  ใช้แตกต่างกันไป    เน้นที่มีกลิ่น แร่ะออกรส เปรี้ยว เล็กน้อย  น้าบางท่านบอกว่า ใช้ส่วนผสมของเหยื่อที่มี ขนมปัง+แยมโรล  นั้น  ไม่ผิด แถมดีอีกด้วย

ปัจจุบัน  ยี่สกไทย หายากค่ะ  แล้วก็ไซต์ใหญ่ๆนั้น  ยิ่งหายากเข้าไปอีก