ปลายี่สกไทย
Seven-Stripped Carp
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Probarbus jullieni
ลักษณะทั่วไป
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่สวยที่สุดชนิดหนึ่ง ลำตัวสีทองสดใส มีแถบสีดำพาดตามยาว 7 แถบ ตาสีแดงสด เคยมีรายงานว่าปลาตัวที่ใหญ่ที่สุดมีลำตัวยาวถึง 1.35 เมตร และมีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม ลักษณะเด่นเฉพาะของปลายี่สกได้แก่มีฟัน 4 ซี่เรียงกันเป็นแถวเดียวในคอหอย และริมฝีปากบนมีหนวดสั้นๆ 1 คู่
ถิ่นอาศัย, อาหาร
ปลาชนิดนี้มีเขตแพร่กระจายที่ค่อนข้างจำกัดในบริเวณประเทศแถบอินโดจีน ไทย ลงไปถึงมลายู พบอาศัยอยู่ในแม่น้ำใหญ่ๆ ในไทยหลายสาย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขง
อาหารส่วนใหญ่ของปลาชนิดนี้ได้แก่ พืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวกลูกปลา ลูกกุ้ง และหอยน้ำจืด
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลเย็นในระดับความลึกตั้งแต่ 5 ถึง 10 เมตร
พฤติกรรมการผสมพันธุ์เริ่มในราวเดือนตุลาคม เมื่อปลาที่โตเต็มวัยจะเริ่มว่ายทวนน้ำกลับไปสู่แหล่งวางไข่ทางเหนือน้ำซึ่ง มีลักษณะเป็นร่องน้ำลึกตามแก่งหินในลำธาร ที่มีพื้นท้องน้ำเป็นทรายหรือกรวดปลายี่สกมีเผ่าพันธุ์เชื้อสายเดียวกับปลาตะเพียน เช่นเดียวกับปลาตะโกก ปลากะโห้ ปลานวลจันทร์น้ำจืด และปลาสร้อย
ในภาคกลางพบปลายี่สกอาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำป่าสัก แควน้อย แควใหญ่ ภาคเหนือพบมากที่แม่น้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย จังหวัดอุบลราชธานี มีมากในจังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครพนม
เมื่อ 50 ปีก่อน ดร.สมิท ที่ปรึกษาราชการกรมรักษาสัตว์น้ำแห่งรัฐบาลสยาม รายงานว่าปลายี่สกเป็นปลาดีที่นิยมของชาวราชบุรีพอ ๆ กับปลาจาดหรือปลาเวียนอันมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี
ในต่างประเทศ เคยพบในประเทศมาเลเซีย และคาดว่าคงจะพบในประเทศลาว เขมร และเวียดนามด้วย
ตามธรรมชาติ ปลายี่สกกินพืชในน้ำเป็นอาหารหลัก และอาจกินสัตว์หน้าดิน ลูกกุ้ง ลูกปู และไรน้ำด้วย
อุปนิสัย
ปลายี่สกชอบอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ที่พื้นท้องน้ำมีลักษณะเป็นกรวดทราย ระดับน้ำลึก 5-10 เมตร น้ำเย็นในสะอาด จืดสนิทและเป็นบริเวณที่มีน้ำไหล วังน้ำกว้างและมีกระแสน้ำไหลวน ลูกปลาจะไปรวมกันอยู่เป็นฝูงตามบริเวณที่เป็นอ่าว และพื้นเป็นโคลนหนาประมาณ 10-20 เซนติเมตร
พอถึงเดือนตุลาคม ปลาจะเริ่มว่ายทวนขึ้นไปเหนือน้ำเพื่อวางไข่และจะกลับถิ่นเดิมในเดือน พฤษภาคมหรือพอน้ำเริ่มมีระดับสูงขึ้น ปลายี่สกจะพากันไปอาศัยตามห้วยวังที่มีน้ำลึก กระแสน้ำไหลคดเคี้ยว พื้นดินเป็นดินทรายและกรวดหิน เป็นท้องทุ่ง (คุ้ง) หรือวังนัที่กว้างใหญ่ใกล้เขาสงบ น้ำใสสะอาด ลึกตั้งแต่ 5-10 เมตร หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดมา
ลักษณะรูปร่าง
ปลายี่สกมีลักษณะเด่นคือ สีของลำตัวเป็นสีเหลืองนวล ลำตัวค่อนข้างกลมและยาว บริเวรด้านข้างมีแถบสีดำข้างละ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของลำตัว ลายตามตัวเหล่านี้จะปรากฏในลูกปลาที่มีขนาด 3-50 นิ้ว บริเวณหัวมีสีเหลืองแกมเขียว ริมปากบนมีหนวดสั้น ๆ 1 คู่ มีฟันที่คอหอยเพียงแถวเดียว จำนวน 4 ซี่ เวลากินอาหารทำปากยืดหดได้ เยื่อม่านตามเป็นสีแดงเรื่อ ๆ ครีบหลัง ครีบหู ครีบท้อง ครีบก้น มีสีชมพูแทรกอยู่กับพื้นครีบ ซึ่งเป็นสีเทาอ่อน หางค่อนข้างใหญ่และเว้าลึก
ปลายี่สกเป็นปลาขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในจำนวนปลาน้ำจืดด้วยกันพบในจังหวัดกาญจบุรี ขนาดใหญ่ที่สุดยาว 1.35 เมตร น้ำหนัก 40 กิโลกรัม
Seven-Stripped Carp
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Probarbus jullieni
ลักษณะทั่วไป
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่สวยที่สุดชนิดหนึ่ง ลำตัวสีทองสดใส มีแถบสีดำพาดตามยาว 7 แถบ ตาสีแดงสด เคยมีรายงานว่าปลาตัวที่ใหญ่ที่สุดมีลำตัวยาวถึง 1.35 เมตร และมีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม ลักษณะเด่นเฉพาะของปลายี่สกได้แก่มีฟัน 4 ซี่เรียงกันเป็นแถวเดียวในคอหอย และริมฝีปากบนมีหนวดสั้นๆ 1 คู่
ถิ่นอาศัย, อาหาร
ปลาชนิดนี้มีเขตแพร่กระจายที่ค่อนข้างจำกัดในบริเวณประเทศแถบอินโดจีน ไทย ลงไปถึงมลายู พบอาศัยอยู่ในแม่น้ำใหญ่ๆ ในไทยหลายสาย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขง
อาหารส่วนใหญ่ของปลาชนิดนี้ได้แก่ พืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวกลูกปลา ลูกกุ้ง และหอยน้ำจืด
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลเย็นในระดับความลึกตั้งแต่ 5 ถึง 10 เมตร
พฤติกรรมการผสมพันธุ์เริ่มในราวเดือนตุลาคม เมื่อปลาที่โตเต็มวัยจะเริ่มว่ายทวนน้ำกลับไปสู่แหล่งวางไข่ทางเหนือน้ำซึ่ง มีลักษณะเป็นร่องน้ำลึกตามแก่งหินในลำธาร ที่มีพื้นท้องน้ำเป็นทรายหรือกรวดปลายี่สกมีเผ่าพันธุ์เชื้อสายเดียวกับปลาตะเพียน เช่นเดียวกับปลาตะโกก ปลากะโห้ ปลานวลจันทร์น้ำจืด และปลาสร้อย
ในภาคกลางพบปลายี่สกอาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำป่าสัก แควน้อย แควใหญ่ ภาคเหนือพบมากที่แม่น้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย จังหวัดอุบลราชธานี มีมากในจังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครพนม
เมื่อ 50 ปีก่อน ดร.สมิท ที่ปรึกษาราชการกรมรักษาสัตว์น้ำแห่งรัฐบาลสยาม รายงานว่าปลายี่สกเป็นปลาดีที่นิยมของชาวราชบุรีพอ ๆ กับปลาจาดหรือปลาเวียนอันมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี
ในต่างประเทศ เคยพบในประเทศมาเลเซีย และคาดว่าคงจะพบในประเทศลาว เขมร และเวียดนามด้วย
ตามธรรมชาติ ปลายี่สกกินพืชในน้ำเป็นอาหารหลัก และอาจกินสัตว์หน้าดิน ลูกกุ้ง ลูกปู และไรน้ำด้วย
อุปนิสัย
ปลายี่สกชอบอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ที่พื้นท้องน้ำมีลักษณะเป็นกรวดทราย ระดับน้ำลึก 5-10 เมตร น้ำเย็นในสะอาด จืดสนิทและเป็นบริเวณที่มีน้ำไหล วังน้ำกว้างและมีกระแสน้ำไหลวน ลูกปลาจะไปรวมกันอยู่เป็นฝูงตามบริเวณที่เป็นอ่าว และพื้นเป็นโคลนหนาประมาณ 10-20 เซนติเมตร
พอถึงเดือนตุลาคม ปลาจะเริ่มว่ายทวนขึ้นไปเหนือน้ำเพื่อวางไข่และจะกลับถิ่นเดิมในเดือน พฤษภาคมหรือพอน้ำเริ่มมีระดับสูงขึ้น ปลายี่สกจะพากันไปอาศัยตามห้วยวังที่มีน้ำลึก กระแสน้ำไหลคดเคี้ยว พื้นดินเป็นดินทรายและกรวดหิน เป็นท้องทุ่ง (คุ้ง) หรือวังนัที่กว้างใหญ่ใกล้เขาสงบ น้ำใสสะอาด ลึกตั้งแต่ 5-10 เมตร หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดมา
ลักษณะรูปร่าง
ปลายี่สกมีลักษณะเด่นคือ สีของลำตัวเป็นสีเหลืองนวล ลำตัวค่อนข้างกลมและยาว บริเวรด้านข้างมีแถบสีดำข้างละ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของลำตัว ลายตามตัวเหล่านี้จะปรากฏในลูกปลาที่มีขนาด 3-50 นิ้ว บริเวณหัวมีสีเหลืองแกมเขียว ริมปากบนมีหนวดสั้น ๆ 1 คู่ มีฟันที่คอหอยเพียงแถวเดียว จำนวน 4 ซี่ เวลากินอาหารทำปากยืดหดได้ เยื่อม่านตามเป็นสีแดงเรื่อ ๆ ครีบหลัง ครีบหู ครีบท้อง ครีบก้น มีสีชมพูแทรกอยู่กับพื้นครีบ ซึ่งเป็นสีเทาอ่อน หางค่อนข้างใหญ่และเว้าลึก
ปลายี่สกเป็นปลาขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในจำนวนปลาน้ำจืดด้วยกันพบในจังหวัดกาญจบุรี ขนาดใหญ่ที่สุดยาว 1.35 เมตร น้ำหนัก 40 กิโลกรัม
มาถึง วิธีการตก
อันนี้ เป็น เหมือนการ ตกปลา หน้าดินทั่วไป ตาม เขื่อน หรือ แหล่ง น้ำธรรมชาติ โดย ปลา พวกนี้ มักจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากเรียกฝูงได้ ก็สบาย
เหยื่อ ที่ใช้ ใช้แตกต่างกันไป เน้นที่มีกลิ่น แร่ะออกรส เปรี้ยว เล็กน้อย น้าบางท่านบอกว่า ใช้ส่วนผสมของเหยื่อที่มี ขนมปัง+แยมโรล นั้น ไม่ผิด แถมดีอีกด้วย
ปัจจุบัน ยี่สกไทย หายากค่ะ แล้วก็ไซต์ใหญ่ๆนั้น ยิ่งหายากเข้าไปอีก
ปัจจุบัน ยี่สกไทย หายากค่ะ แล้วก็ไซต์ใหญ่ๆนั้น ยิ่งหายากเข้าไปอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น