สนใจชวนไปตกปลา...ในเขตมหาสารคามและยโสธร

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ปลาเทโพ

ชื่อไทย เทโพ หูหมาด
ชื่อสามัญ BLACK EAR CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasius larnaudii
ถิ่นอาศัย แต่เดิมมีชุกชุมในลำน้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลง ในภาคอีสานพบในแม่น้ำโขง ชาวบ้านเรียก ปลาหูหมาด
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกับปลาสวาย เพราะเป็นปลาในสกุลเดียวกันมีหัวโตหน้าสั้นทู่กว่าปลาสวาย ลำตัวยาวและด้านข้างแบน นัยน์ตาค่อนข้างโตและอยู่เหนือมุมปาก ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง มีหนวดเล็กและสั้นอยู่ที่ริมปากบนและมุมปากแห่งละหนึ่งคู่ กระโดงหลังสูงและมีก้านเดี่ยวอันแรกเป็นหนามแข็ง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมแข็งข้างละอัน มีครีบไขมันอยู่ใกล้กับโคนครีบหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายเป็นแฉกลึก ลำตัวบริเวณหลังมีสีดำคล้ำหรือสีน้ำเงินปนเทา หัวสีเขียวอ่อน ท้องสีขาวเงิน มีจุดสีดำขนาดใหญ่เหนือครีบหู
การสืบพันธุ์ เจริญพันธุ์อายุ 8เดือนขึ้นไป พ่อแม่ปลาดุกขุดแอ่งตื้น ๆ ตามท้องนา และวางไข่ติดกับรากหญ้าก้นหลุม ไข่ติด สีน้ำตาลอมแดง การฉีดฮอร์โมน อัตราฉีดตัวเมีย suprefact 20 - 30 ไมโครกรัม/กิโลกรัมร่วมกับ motilium 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตัวผู้ 15 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมร่วมกับ motilium 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยตัวเมียทิ้งไว้ 16 ชั่วโมงแล้วจึงรีด ส่วนตัวผู้ทิ้งไว้ 10 ชั่วโมงแล้วผ่าเอาน้ำเชื้อออกมาทำการผสมเทียม โดยใช้วิธีแห้งแบบดัดแปลง
อาหารธรรมชาติ กินสัตว์น้ำที่ขนาดเล็กกว่าและซากของสัตว์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น