สนใจชวนไปตกปลา...ในเขตมหาสารคามและยโสธร

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ปลาแบส




Peacock Bass : Cichla
            ปลาในสกุล Cichla เป็นปลาหมอที่มีความใหญ่โตที่สุดในอเมริกาใต้ เนื่องจากแม่น้ำอเมซอนมีหลายหลายสาขาแบ่งย่อยออกไปทำให้ปลาในสกุลนี้มีความ หลากหลายตามไปด้วย ด้วยปากที่มีขนาดใหญ่ สายตาที่ดีเยี่ยม ลำตัวที่แข็งแกร่ง พละกำลังอันมหาศาล ทำให้พวกมันอยู่ในห่วงโซ่อาหารลำดับต้นๆของแม่น้ำนี้เลยก็ว่าได้
            ทำไมถึงเรียกว่า Peacock Bass?  เนื่องจากปลาตระกูลนี้มีลายที่หาง มีลักษณะและความสวยงามคล้ายลายบนขนของนกยูง (Peacock) จึงเรียกว่า Peacock Bass นั่นเอง



ซึ่ง ปลาสกุลนี้แบ่งออกเป็น 5 สายพันธุ์ ใช้โครงสร้าง และลวดลายเป็นหลักในการแบ่งสายพันธุ์  ได้แก่

                                  Cichla temensis  เทมเมนซิส
                                  Cichla orinocensis ออริโนเซ็นริส
                                  Cichla monoculus โมโนคิวเรส
                                  Cichla ocellaris  ออสซิราลิส
                                  Cichla intermedia อินเทอร์มีเดีย
ภาพ Cichla temensis
ภาพ Cichla orinocensis
 ภาพ Cichla monoculus
ภาพ Cichla ocellaris
ภาพ Cichla intermedia
เรามาเริ่มทำความรู้จักกับปลาสกุลนี้เลยครับ

เริ่มที่ตัวแรก Cichla temensis – Tucunare (ชื่อเรียกพื้นเมือง)  ตัวนี้เหมือนเป็นเครื่องหมายการค้าของปลาสกุลนี้เลย ก็ว่าได้เพราะว่ามีขนาดใหญ่ที่สุด แพร่กระจายอยู่ตามสาขาต่างๆทั่วทั้งอเมริกาใต้ สามมารถโตได้ 30 นิ้วขึ้นไป  ปลาในวัยเด็กจะ มีแถบดำขนานกับลำตัวของปลาตั้งแต่แก้มไปจนถึงหาง เมือโต ลายดังกล่าวจะหายไป  และปรากฏ มุกแวววาวขึ้นมาแทน ดังในภาพที่สองเป็นแบบ Paca หรือตามเป็นอีกแบบตามภาพที่สาม เรียกว่า Assu  ส่วนใหญ่เป็นปลานำเข้าจากต่างประเทศ ยังไม่มีการเพาะกันมากนัก เลยราคาแพง


ต่อกันด้วย ตัวที่ 2
Cichla orinocensis
(Taua or Borboleta )
ชนิดนี้จะพบทางตอนบนของแม่น้ำ Rio Negro และพบมากใน Rio Jau และ RioBranco ทางตอนเหนือของประเทศบราซิล ตลอดจนปากแม่น้ำ Rio Orinoco โตเต็มที่ประมาณ 30 นิ้ว  เมื่อโตเต็มวัยจะมีจุดมาร์ค หรือ ocelli 3 จุด ไม่มีจุดมาร์คที่แก้ม ดังภาพด้านล่าง

ตามมาด้วยตัวที่ สาม Cichla monoculus (Popoca หรือ Botao)
กระจายอยู่ทั่วทั้งอเมริกาใต้ โตได้ถึง 20 นิ้ว มีแถบที่หลังเพียงสั้นๆไม่พาดยาวเหมือนเทมเมนซิส มีแถบดำยาวใกล้ๆกับครีบอก ไม่มีจุดมาร์ค หรือ ocelli ตามลำตัวและแก้ม ดังภาพด้านล่าง
ตัวที่ สี่ Cichla ocellaris (Tacutu) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ออสสิราลิสๆ

ตัวนี้รู้จักกันดีในนาม butterfly peacock bass อยู่ทางตอนบนของRio Branco ประเทศบลาซิล ตลอดจนได้รับรายงานว่าพบที่ Florida, Hawaii, และ Puerto Rico  ไม่มีมาร์คที่แก้ม มีแถบดำพาดกลางลำตัว โตเต็มที่ประมาณ 25 นิ้ว
และตัวสุดท้าย Cichla intermedia  เจ้าตัวนี้พบเฉพาะ ทางออกแม่น้ำOrinoco เท่านั้น มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลเพียง 18 นิ้ว เอกลักษณ์ คือ มีแถบดำ 8 แถบ ดังภาพด้านล่าง
ทั้งนี้ทั้งนั้น การจำแนกชนิดของปลาก็ยังสาขาจำแนกออกไปตามสถานที่พบได้อีก จะพบได้ว่าปลามีลวดลายที่หลากหลาย ทำให้เกิดการสับสน ปัจจุบันปลาชนิดนี้ได้ถูกมาปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น กว่าเดิม จึงเกิดการข้ามสาย ดูยากยิ่งกว่าเดิมอีกครับ

ปลาที่เข้ามาส่วนมากจะเป็น เทมเมนซิส ออสซิราซิส และ โมโนคิวเรส สามารถเพาะได้ในประเทศไทยแล้วนะครับ ส่วนเจ้า ออริโน นี้ก็ราคาแพงมากครับ ไม่มีใครนำเข้า การเลี้ยง : ปลาสกุลนี้เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ และมีกำลังมาก ตู้ที่ใช้เลี้ยงจึงควรมีขนาดใหณ่ตามขนาดของปลาและจำนวนปลาด้วย อาจจะเป็นตู้โล่งหรือประดับด้วยไม้น้ำ เพื่อ ลดความเครียดของปลา

อุณหภูมิ : เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาเขตร้อนที่สุดก็ 28c ครับ เมื่อถึงฤดูหนาว ก็ควรใส่ฮีตเตอร์ ให้ปลาด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีของปลา

อาหาร : ปลาสกุลนี้เป็นปลากินเนื้อครับ ลูกปลา กุ้งฝอย หนอนนก บางตัวอาจยอมรับอาหารเม็ด ของตาย สามารถให้ได้ครับ การให้อาหารควรให้แค่พออิ่ม เพราะเป็นปลาที่ตะกละมาก อาจส่งผลต่อสุขภาพของปลาได้ครับ
แท็งเมท : ควรเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าหน่อย อาจจะเป็นแคชฟิช จากแม่น้ำเดียวกัน และไม่กัดทำร้ายมันด้วยนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น